“Sheffield Lab” คือเรื่องราวของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันขึ้นมาทำกิจกรรมอย่างหนึ่งเพื่อค้นหาวิธีการทำให้เสียงเพลงมี “คุณภาพเสียง” ที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์สามารถทำได้ พวกเขามีเป้าหมายไม่ได้แค่สร้างเพลงขึ้นมา แต่ต้องการใส่จิตวิญญาณของนักดนตรีและผู้เกี่ยวข้องกับงานเพลงเหล่านั้นลงไปในเสียงเพลง ที่พวกเขาบันทึกออกมาด้วย นี่คือเรื่องราวของค่ายเพลงที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มของคนเล่นเครื่องเสียงว่าเป็น “เสาหลัก” สำคัญที่ผลักดันให้วงการเครื่องเสียงขยับเคลื่อนจากยุคบุกเบิก ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด พวกเขาคือค่ายเพลง “Sheffield Lab” ของประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากประสบความล้มเหลวและผิดหวังมาสองถึงสามปี ด้วยทุนทรัพย์ที่เริ่มร่อยหรอ ดั๊ก แซกและลินคอล์น มายอก้าได้ข้อสรุปออกมาว่า พวกเขาจะต้องมีอุปกรณ์ที่ออกแบบขึ้นมาเองหากต้องการบันทึกเสียงให้ได้คุณภาพเสียงจากการบันทึกแบบไม่ผ่านมาสเตอร์เทปออกมาดีที่สุด หลังจากทดลองมานาน พวกเขาเริ่มคุ้นเคยกับความเพี้ยนและความไม่สมบูรณ์แบบของเครื่องไม้เครื่องมือในการบันทึกเสียงที่เป็นแบรนด์อื่นๆ มาพอสมควร นั่นทำให้ห้องทำมาสเตอริ่งของสตูดิโอใหญ่ๆ มีความไม่สมบูรณ์แบบไปด้วย ลินคอล์นสรุปว่า พวกเขาน่าจะหากำไรได้จากการทำธุรกิจมาสเตอริ่งสตูดิโอที่รับงานจากโปรดิวเซอร์อิสระด้วยคุณภาพงานที่สูงกว่า และมีความยืดหยุ่นกว่าในการตัดแผ่นจากมาสเตอร์เทปของพวกเขา นั่นจึงเป็นที่มาของ “The Mastering Lab” ซึ่งเป็นสตูดิโอสำหรับทำมาสเตอริ่งแห่งแรกที่เน้นคุณภาพเสียงเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศ และด้วยเครืองไม้เครื่องมือที่ใช้ทำธุรกิจนี้ ทำให้พวกเขาสามารถทดลองและปรับปรุงการบันทึกเสียงแบบ direct-to-disc จนทำให้ได้คุณภาพเสียงออกมาในระดับที่ต้องการสำเร็จ
จนได้รับการยกย่อง และกลายเป็น “มาตรฐานอ้างอิง” ของวงการเครื่องเสียง
พวกเขาได้ชื่อ Sheffield มาจากชื่อของทางออกถนนหลวงหมายเลข 101 คือ Sheffield Drive และตัดสินใจที่จะใช้ชื่อนั้นตั้งเป็นชื่อค่ายเพลง และยึดเอาค่าใช้จ่ายในการบันทึกเพลงคลาสสิกเป็นเกณฑ์กำหนดราคาในการรับงาน ตอนแรกที่พวกเขาเริ่มผลิตงานบันทึกเสียงแบบ direct-to-disc ระดับออดิโอไฟล์ พวกเขาตัดสินใจใช้ชื่อ Series งานบันทึกเสียงชุดแรกนี้ว่า Sheffield-Laboratory หลังจากนั้นอีกไม่นานก็มาเป็น Sheffield Lab ที่มีโลโก้เป็นดอกผักบุ้ง
แม้ว่าการบันทึกเสียงแบบ direct-to-disc ที่ใช้เวลา 15 ถึง 20 นาทีในการดึงสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากนักดนตรีที่มีความโดดเด่นจะเต็มไปด้วยความกดดันที่สูงยิ่ง เมื่อเทียบกับการบันทึกเสียงด้วยวิธีมัลติแทรคในสตูดิโอทั่วไปที่ไม่เคร่งเครียดเท่า แต่ก็มีศิลปินหลายคนที่พร้อมรับความท้าทายนั้น และเอาจริงเอาจังกับมัน ช่วงเวลาหลายปีหลังกำเนิด Sheffield Lab ได้มีทั้งซาวนด์เอนจิเนียร์และโปรดิวเซอร์งานเพลงชั้นดีหลายคนนำโปรเจ็กต์ป๊อปและแจ๊สมาผลิตที่ค่าย Sheffield Lab อาทิเช่น Bill Schnee, Larry Brown, Al Schmidt และ George Massenberg เหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ร่วมบันทึกเสียงด้วยเทคนิค direct-to-disc ที่เชฟฟิลด์ แล็ปคิดค้นขึ้นมา จนทำให้เกิดเป็น “The Sheffield Sound” ในขณะที่ Doug Sax ก็ไปดูแลการบันทึกเสียงเพลงคลาสสิกให้กับวง The Los Angeles Philharmonic, The Moscow Philharmonic และวงแชมเบอร์ขนาดเล็กอีกส่วนหนึ่ง
Sheffied Lab ก้าวสู่ยุคดิจิตัลอย่างสง่างามด้วยฟอร์แม็ต Compact Disc ซึ่งยังคงแสดงความโดดเด่นของเสียงที่ได้จากการบันทึกด้วยเทคนิคที่พวกเขาคิดค้นขึ้นออกมาให้ประจักษ์ได้อย่างชัดเจน เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า การบันทึกเสียงที่ยอดเยี่ยมเป็นอะไรที่สำคัญกว่าฟอร์แม็ตของสื่อที่ใช้เก็บงานเพลง
เนื่องจากค่ายเพลง Sheffield Lab กำเนิดขึ้นในยุคของแผ่นเสียง ดังนั้น ผลงานบันทึกเสียงที่มีคุณค่ามากของค่ายนี้จึงเป็นฟอร์แม็ตแผ่นเสียง โดยเฉพาะงานเพลงเวอร์ชั่นที่บันทึกด้วยเทคนิค “Direct-To-Disc Recordings” และเวอร์ชั่นที่กำกับว่า “Performed Live to Two-Track” ซึ่งในปัจจุบันนี้ แผ่นเสียงเหล่านี้ไม่มีการผลิตใหม่ออกมาอีกแล้ว ที่พอหากันได้ก็มีแต่เฉพาะในตลาดแผ่นเสียงใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะตกไปอยู่ในมือของนักสะสมแผ่นเสียง ส่วนที่มีปล่อยขายออกมาบ้างประปรายก็มีแต่แผ่นที่สภาพไม่สวยและมีราคาสูง
ส่วนเวอร์ชั่นที่ปั๊มออกมาเป็นแผ่น Compact Disc (CD) ทางค่าย Sheffield Lab ก็มีทำออกมาจำหน่ายเกือบครบทุกอัลบั้ม ซึ่งในปัจจุบันทางค่ายก็เลิกผลิตใหม่ออกมาแล้วเช่นกัน แผ่นใหม่เก่าเก็บก็ยังพอหาได้บางเบอร์ ซึ่งคุณสามารถสั่งซื้อได้จากเซ็บไซต์ของ Sheffield Lab เอง (
https://bit.ly/30tb26U) ส่วนแผ่นใช้แล้วพอมีให้หาซื้ออยู่บ้างตามร้านขายแผ่นซีดีมือสองในบ้านเรา ราคาอยู่ในระดับปานกลาง มีเฉพาะบางเบอร์ที่ราคาค่อนข้างสูง
ต่อไปนี้เป็น 3 อัลบั้มที่ควรหามาฟังเพื่อศึกษาความโดดเด่นในการบันทึกเสียงของค่ายเพลงในยุคกลาง ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการบันทึกเสียงที่เน้นคุณภาพเสียงของโลก เป็น 3 อัลบั้มระดับพิมพ์นิยมที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และได้รับความนิยมชื่นชอบจากนักฟังเพลงทั่วโลกมากที่สุด และนักฟังเพลงทุกระดับต้องมีไว้ใน Collection ราคาขายในต่างประเทศแพงสุดโต่ง ราคาขายต่างประเทศแพงสุดโต่ง นำมาขายถูกเหลือเชื่อ ประกอบด้วย
1. AMANDA McBROOM ‘Amanda’ แผ่นทอง 24K Gold 12 เพลง
2. Clair Marlo - Let It Go 15 เพลง
3. Lincoln Mayorga & Amanda McBroom Growing up in Hollywood Town 9 เพลง
4. Lincoln Mayorga & Distinguished Colleagues,
Vol.III 9 เพลง
มีค่าแพ็ค/จัดส่งอัลบั้มละ 50 บาท หากรับ 2 อัลบั้ม แพ็ค/จัดส่งฟรี
ติดต่อ โทร/ไลน์ 081-832-2000